ประเภทของ Cable Ladder ในปัจจุบัน

Cable Ladder

Cable Ladder หรือรางเดินสายไฟนั้นมีความสำคัญต่อการทำงานของช่างไฟเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นรางที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อช่วยจัดระเบียบความเรียบร้อยของสายไฟ ลดการเกี่ยวพันกันของสายไฟซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดไฟฟ้าลัดวงจรและไฟไหม้ อีกทั้งยังช่วยให้เกิดความสวยงามของผนังได้อีกด้วย ไม่สร้างความเสียหายต่อพื้นผิวของผนังในการติดตั้ง มีความสะดวกสามารถเคลื่อนย้าย Cable Ladder นี้ได้ตลอดเวลาไม่ทิ้งร่องรอยความเสียหายใด ๆ ไว้ อีกทั้งยังทำให้สายไฟนั้นมีอุณหภูมิที่เย็น ไม่เกิดความร้อนสะสมจนทำให้ฉนวนนั้นเกิดการละลายและนำพาไปสู่การเกิดกระแสไฟฟ้ารั่วในเวลาต่อมา 

ประเภทของ Cable Ladder  

Cable Ladder คือรางที่ใช้ในการวางสายไฟ โดยมีลักษณะเป็นขั้นบันได (Ladder) เพื่อทำให้สายไฟนั้นมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย ง่ายต่อการซ่อมแซมแก้ไข สามารถเคลื่อนย้ายได้ง่าย มีความสะดวกในการดำเนินการแก้ไขและติดตั้งเป็นอย่างมาก โดยในปัจจุบัน Cable Ladder นี้จะแบ่งออกเป็นสองประเภทด้วยกัน ได้แก่ 

  1. Cable Ladder แบบพ่นสี 

เคเบิ้ลแลดเดอร์แบบพ่นสีหรือหรือ Epoxy Powder Coated Cable Ladder นี้จะถูกเคลือบด้วยสาร Epoxy ที่มีคุณสมบัติในการเปลี่ยนแปลงเฉดสีเมื่ออุณหภูมินั้นเกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งสามารถบอกถึงความร้อนที่เกิดขึ้นจากการที่กระแสไฟฟ้าไหลผ่านตัวนำในสายไฟที่ถูกบรรจุอยู่ภายในรางแลดเดอร์ สามารถกันการกัดกร่อนของสารเคมีได้เป็นอย่างดี มักนิยมใช้งานอุตสาหกรรมที่มีการใช้สารเคมี เนืองจากมีความทนทานนั่นเอง 

  1. Cable Ladder แบบกัลป์วาไนซ์ 

เคเบิ้ลแลดเดอร์แบบกัลป์วาไนซ์หรือ Hot-Dip Galvanized Cable Ladder นี้จะถูกเคลือบด้วยสารกัลป์วาไนซ์ซึ่งเป็นสารที่สามารถป้องกันการเกิดปฏิกิริยาออกไซด์จากอากาศและความชิ้นหรือสนิมได้นั่นเอง การจุ่มแบบร้อนนั้นเป็นการจุ่มที่สามารถเร่งการยึดเกาะของสารเคลือบไปยังพื้นผิวสัมผัสของ Cable Ladder จึงทำให้ได้ความหนาของสารกัลป์วาไนซ์ สามารถยืดอายุการป้องกันสนิมได้นานยิ่งขึ้น ซึ่งดีกว่าการนำ Cable Ladder ไปชุบด้วย Zinc หรือสังกะสี เพราะการชุบด้วยสังกะสีนั้นจะให้ความบางของชั้นเคลือบน้อยกว่า ทำให้ระยะเวลาการป้องกันการเกิดสนิมนั้นสั้นกว่า แต่มีข้อดีตรงที่มีราคาที่ถูกกว่าการชุบแบบกัลป์วาไนซ์เป็นอย่างมาก  

การประกอบ Cable Ladder  

ในการประกอบ Cable Ladder เข้าด้วยกันนั้นในปัจจุบันนิยมอยู่ 2 วิธีการด้วยกัน ได้แก่ 

  1. การใช้น๊อต : รางแลดเดอร์จะมีรูที่ถูกเจาะไว้เพื่อทำการใส่น๊อตเพื่อยึดโครงสร้างเข้าด้วยกัน สามารถถอดออกได้โดยการขันน๊อตออก แต่ก็มีข้อเสียตรงที่มีความทนทานและความแข็งแรงที่ต่ำ 
  1. การเชื่อม : รางแลดเดอร์แบบเชื่อมนั้นจะให้ความแข็งแรงและคงทนมากกว่า แต่ก็มีข้อเสียตรงที่ไม่สามารถถอดหรือแยกชิ้นส่วนออกมาได้อีกต่อไป